8 เหตุผล ที่ Covid-19 Vaccine อาจไม่ใช่ทางออก

 

หลายคนคิดว่า ถ้ามีวัคซีนเรื่องจะจบด้วยดี ประหนึ่งหนังฝรั่งโรคระบาด ที่เมื่อพบวัคซีนเรื่องร้ายๆก็จบลง เป็นฉากจบที่เป็นโลกใบใหม่ พระเอกและนางเอกยืนดูลูกๆวิ่งเล่นกัน แบบไร้หน้ากาก คนดูยิ้มตาม แล้วเดินออกจากโรงหนัง....

แต่วันนี้จะมาเล่าให้ฟังว่า เพราะอะไร เราจึงไม่ควรหวังว่ามันจะ happy ending แบบนั้น

1. จากข้อมูลที่มี ตอนนี้เราวัดผลจากเฟสสอง คือ ให้วัคซีน ดูแล้วปลอดภัย ภูมิในเลือดขึ้น แต่ขึ้นนานเท่าไหร่ยังไม่รู้ผล

2. ภูมิที่ขึ้น ขึ้นในเลือดอาจจะไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อ!! เอ๊า นั้น งงมั้ยคะ คืออธิบายกลไกการติดเชื้อก่อน เชื้อเข้ามาในเซลล์เยื่อบุทางเดินหายใจ เริ่มแบ่งตัวแล้วก็เริ่มติดเชื้อ มีอาการ เชื้อที่แบ่งตัวก็ติดเซลล์ร่างกายเซลล์อื่นถัดๆไป

ดังนั้น การจะป้องกันการติดเชื้อ ก็ต้องกันไม่ให้เชื้อเข้าเซลล์ได้ ถูกมั้ยคะ แต่วัคซีนทำไม่ได้นะคะ

แล้ววัคซีนทำอะไร?

สิ่งที่วัคซีนทำได้ คือ สร้างภูมิ เมื่อเชื้อเข้ามาแล้วในเซลล์ร่างกาย จะเกิดการแบ่งตัวขึ้น และติดเชื้อสู่เซลล์อื่นๆในร่างกาย ตรงนี้แหล่ะ ที่ภูมิจากวัคซีนจะจัดการได้ (ถ้าปริมาณสูงพอ) ดังนั้น ผลคือ ปริมาณเชื้อในคนนั้นๆจะไม่สูงมาก ลดความรุนแรงของโรคได้

3. ประสิทธิภาพวัคซีน อันนี้จะบอกว่าได้ผลมั้ย ยังไงต้องดูทางคลีนิกชัดๆ ว่าฉีดไปแล้วป้องกันได้นานเท่าไหร่ ซึ่งวันก่อน Anthoni Fauci ก็บอก ผู้เชี่ยวชาญในไทยก็บอกว่า ผลน่าจะประมาณวัคซีนไข้หวัดใหญ่
นั่นสิ แล้ววัคซีนไข้หวัดใหญ่ มันประมาณแค่ไหน คำตอบก็คือ ลดความรุนแรงของโรคได้ 50-60%

4. ผลอยู่นานแค่ไหน อันนี้ยังบอกได้ยาก เพราะยังไม่รู้ว่าผลขอวัคซีนทำให้ภูมิร่างกายขึ้นก็จริง แต่จะอยู่นานได้ ต้องทำให้ร่างกาย “จำ” ได้ด้วย แปลว่า ภูมิขึ้นมา แป๊บๆอาจจะลดลง แต่ถ้าร่างกายจำได้ ก็พร้อมผลิตภูมิใหม่ขึ้นมาได้ตลอด แม้ภูมิชุดแรกจะต่ำลงไปแล้ว ซึ่งตรงนี้ยังไม่มีข้อมูลชัดๆ เท่าที่เคยอ่านเจอก็มีของ AZ moderna ที่ลงในวารสารทางการแพทย์ใหญ่ๆ ว่ากระตุ้น memory T cell ได้ด้วย ซึ่งจริงๆความแตกต่างของเชื้อชาติ น่าจะมีผลกับการตอบสนองของร่างกายกับวัคซีนด้วย

5. การกลายพันธุ์ของไวรัส อันนี้บอกยากอยู่ ว่าแต่ละยี่ห้อเอายีนส์ส่วนไหนมากระตุ้นภูมิ ถ้าเกิดมี mutation ตรงนั้น ก็จะลำบากได้ เหมือนทุกวันนี้ ที่เราฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่กัน ทำไมเราจึงเป็นหวัด หรืออาจจะเป็นไข้หวัดใหญ่อยุ่ ก็เพราะบางทีวัคซีนที่เราฉีด กับเชื้อที่เราเจอ มันคนละสายพันธุ์ เป็นต้น ซึ่งตอนนี้เริ่มมีงานวิจัยให้เห็นแล้ว ว่ามีไวรัสที่กลายพันธุ์ จนภูมิเดิมที่มี ไม่สามารถ จัดการได้

6. การเก็บวัคซีน ตอนนี้ วัคซีนต้องเก็บในอุณหภูมิ -80 ถึงจะเก็บได้นานเกินสามเดือน ถึงแม้จะผลิตวัคซีนใกล้สำเร็จ แต่ในตอนนี้ทุกบริษัท ล้วนปวดหัวกับการเก็บตรงนี้ คือพยายามผลิตหลอดแก้วฉีดยาที่สามารถทนความเย็นจัดๆได้โดยไม่แตก เพื่อที่จะสามารถ prolong shelf-life ได้ ข่าวร้ายคือ ยังคิดไม่ได้ ดังนั้น ถ้าไม่สำเร็จ ก็อาจจะไม่สามารถที่จะมี mass distribution ได้ เพราะคงต้องเป็น special centers เท่านั้น

7. ตอนนี้วัคซีนถูกนำมาเป็นเครื่องมือวัดว่า ใครสร้างได้ก่อน ใครทำสำเร็จก่อน ก็จะบอกถึงความเจ๋งของประเทศนั้นๆ หรือแม้แต่ Trumps เองก็ตั้งใจให้มีวัคซีนก่อนเลือกตั้งให้ได้... ในแง่ความปลอดภัยในระยะสั้น คงพอเห็นได้ แต่ความผลอดภัยระยะยาว อาจจะบอกยาก ส่วนประสิทธิภาพ ย่อมแน่นอน เร่งขนาดนี้ แถมทุกอย่างเป็น pharmacautical driven research อีก ทำให้ผลการศึกษาอาจจะมีอคติ หรือ bias หรือ conflicts of interest ได้สูงในมุมของแพทย์ ยิ่งเร่ง ยิ่งไม่รู้ประสิทธิภาพ ยิ่งเร่งยิ่งกังวลเรื่อง safety

8. ในโลกเรามีกลุ่ม anti-vaccine อยู่เยอะกว่าที่เราคิดไว้ ตอนนี้มีสำรวจในอเมริกา ก็บอกว่าผลิตวัคซีนออกมา ก็ไม่ฉีดนะ อยู่ประมาณ 20%

### โดยสรุป ตอนนี้ถึงแม้มีวัคซีน ก็ต้องบอกว่า ไม่ได้ 100% efficacy แน่ๆ การ distribution มีปัญหาแน่ๆ ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุด คือไม่ใช่วัคซีน คือการอยู่ร่วมกับเค้าให้ได้ รู้จักป้องกันไม่ให้มันเข้ามาในร่างกายเป็นสำคัญค่ะ ดังนั้นทำใจเถอะ หน้ากาก กับการล้างมือ การหลีกเลี่ยงที่แออัด จะอยู่กับเราไปอีกนานค่ะ


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ตลาดเบอร์หนึ่ง! ไทยส่งออกทุเรียนไปจีนมากสุด 73%

8 จุดถ่ายภาพ “เบตง” เมืองใต้สุดปลายด้ามขวาน ที่ใครไปก็หลงรัก

กรณีศึกษา เหตุใด Apple จึงไม่ประสบความสำเร็จ ในตลาดอินเดีย!?